- การเอาตัวรอด การมีชีวิตอยู่
- 4 หัว เรื่อง 4 หน่วย > หน่วยกล้วย
> หน่วยส้ม
> หน่วยไข่
>
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยศึกษาควรประกอบด้วยหัวข้อของเนื่อหาหรือทักษะ
( นิตยา ประพฤติกิจ : 2541 : 17 : 19 ) ดังต่อไปนี้
1. การนับ ( counting ) เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก การนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1 - 10 หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข ( number ) เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ใน ชีวิตประจำวันให้เด็กเล่นของเล่นที่เกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยครูเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรมอาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย
3.การจับคู่ ( Matching ) จำนวน - จำนวน , จำนวน - ตัวเลข , ตัวเลข - ตัวเลข
4. การจัดประเภท ( Comparing ) เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัย ความสัมพันธ์ ระหว่าง ของ สองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น มากกว่า หนักกว่า เบากว่า
6. การจัดลำดับ ( Ordering ) เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดๆหนึ่ง ตามคำสั่งหรือ ตามกฎ เช่น การบล็อค 5 แท่ง ที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั้นไปหายาว
7. รูปทรงและเนื่้อที่ (
8. การวัด ( Measurement ) มักให้เด็กวัดลงมือ ได้ด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาว และระยะ
9. การเซต ( Set ) เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่ายๆ จากสิ่งรอบๆตัว มีการเชืิ่อมโยงจากสภาพรวม
10. เศษส่วน ( Fraction ) ปกติแล้วการเรียนเศษส่วน มักเชื่อมโยงในชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 ปต่ครูปฐมวัย สามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อนมีการลงมือปฎิบัติเพื่อให้เด็กเข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอด
11.การทำตามแบบลวดลาย ( Patterning ) เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบ ลวดลายและพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต
12. การอนุรักษ์ คือ การคงที่ปริมาณ ( Conservation ) ช่วงวัย 5 ขวบ ขึ้นไปครูอาจเริ่มสอน เรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กลงมือกระทำ
ภาพกิจกรรมในห้องเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น